logo
English

เรามอบความช่วยเหลือแก่สถานพยาบาลต่าง ๆ ในการขาย/ซื้ออุปกรณ์วินิจฉัยด้วยภาพทางรังสี รวมทั้งให้บริการหลังการขายและจัดจำหน่ายอะไหล่ เพื่อลดต้นทุน และ เพิ่มคุณภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยและรวดเร็วยิ่งขึ้น

เรามอบความช่วยเหลือแก่สถานพยาบาลต่าง ๆ ในการขาย/ซื้ออุปกรณ์วินิจฉัยด้วยภาพทางรังสี รวมทั้งให้บริการหลังการขายและจัดจำหน่ายอะไหล่ เพื่อลดต้นทุน และ เพิ่มคุณภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยและรวดเร็วยิ่งขึ้น

Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI

15 ก.ค. 2022

Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI คือเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ใช้ในการตรวจวินิจฉัยรอยโรคของผู้ป่วย เพื่อนำ
มาใช้ในการรักษาและติดตามผลการรักษา โดยเครื่องตรวจที่ใช้คลื่นสนามแม่เหล็กความเข้มสูงและคลื่นความถี่ในย่านความถี่วิทยุ ในการสร้างภาพเหมือนจริงของอวัยวะภายในต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะ สมอง หัวใจ กระดูก-กล้ามเนื้อ และส่วนที่เป็นมะเร็งด้วยคอมพิวเตอร์รายละเอียดและความคมชัดสูง เป็นภาพตามระนาบได้ทั้งแนวขวาง แนวยาวและแนวเฉียง เป็น 3 มิติ ภาพที่ได้จึงจะชัดเจนกว่า การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ แบบ CTScan ทำให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติในร่างกายได้อย่างแม่นยำ

เครื่อง MRI จะเป็นเทคโนโลยีทันสมัยและมีราคาแพง ในปัจจุบันมีการนำมาใช้อย่างแพร่
หลาย เนื่องจากเป็นการตรวจวินิจฉัยที่ให้ความถูกต้องและแม่นยำสูง เนื่องจากให้ความแตกต่างของเนื้อเยื่อได้ดี ทำได้หลายระนาบ สามารถใช้ตรวจได้ทุกระบบของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของระบบสมองและกระดูกสันหลัง การตรวจ MRI จะดีกว่าเมื่อเทียบกับการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography, CT) อีกทั้งมีเทคนิคการตรวจพิเศษหลายแบบ เช่น การตรวจสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะสมองขาดเลือดแบบเฉียบพลัน การตรวจหาระดับชีวเคมีเพื่อแยกชนิดของก้อนเนื้อและการตรวจหลอดเลือดทั่วร่างกาย เป็นต้น MRI ยังมีประโยชน์มากในการตรวจผู้ป่วยเด็ก เนื่องจากไม่มีอันตรายจากรังสี ที่เกิดจากการใช้เอกซเรย์

การตรวจ MRI สามารถใช้ตรวจได้เกือบทุกระบบอวัยวะของร่างกาย ได้แก่ ระบบสมอง ระบบ
ช่องท้องทั้งหมด ระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ

วัตถุประสงค์ของการตรวจ MRI
1. ตรวจหาความผิดปกติของสมอง
2. ตรวจหาความผิดปกติของระบบกระดูกสันหลังและไขสันหลัง
3. ตรวจหาความผิดปกติของหลอดโลหิตในสมองและลำตัว โดยไม่ต้องฉีดสารทึบรังสี
4. ตรวจหาความผิดปกติของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ กระดูกส่วนต่างๆ รวมทั้งการฉีกขาดของกล้าม เนื้อ เส้นเอ็น
5. ตรวจหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับอวัยวะในอุ้งเชิงกราน
6. ตรวจหาความผิดปกติต่างๆ บริเวณทรวงอก หัวใจ ช่องท้อง ท้องและเต้านมสตรี
7. การตรวจพิเศษอื่นทาง MRI อื่นๆ เช่น MR Perfusion หรือ MR spectroscopy

ข้อดีของการตรวจ MRI
1. การตรวจ MRI จะเป็นการตรวจที่ให้ความแม่นยำและถูกต้องสูง มีประโยชน์มากสำหรับแพทย์ ในการวินิจฉัยโรคเพื่อนำมาใช้การรักษาและติดตามผลการรักษา
2. MRI สามารถให้ภาพที่แยกความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อต่างๆ ได้ชัดเจน ทำให้มีความถูกต้องแม่นยำในการ วินิจฉัยโรคมากยิ่งขึ้น อีกทั้งสามารถทำการตรวจได้ ในทุกๆระนาบ ไม่ใช่เฉพาะแนวขวางอย่างเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
3. ใช้ได้ดีกับส่วนที่ไม่ใช่กระดูก (non bony parts) คือเนื้อเยื่อ (soft tissues) โดยเฉพาะสมอง เส้นประสาทไขสันหลัง และเส้นประสาทในร่างกาย
4. ใช้ได้ดีกับ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นยึดกระดูกและกล้ามเนื้อ
5. สามารถตรวจเส้นเลือดได้โดย ไม่ต้องเสี่ยงกับการฉีดสารทึบรังสีและการสวนสายยางเพื่อฉีดสี ซึ่งมีประโยชน์ ต่อวงการแพทย์แผนปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะมีความปลอดภัยสูงและค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้ยัง สะดวกสบายกว่าเพราะไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวใดๆ ทั้งก่อนและหลังการตรวจ คนไข้สามารถกลับบ้านได้ทันทีที่ตรวจเสร็จ
6. ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ แก่ร่างกายของคนไข้ รวมถึงไม่มีอันตรายจากรังสีตกค้าง เพราะไม่ใช้คลื่นรังสี

ข้อพึงระวังของการตรวจ MRI

ผู้ป่วยที่กลัวการอยู่ในที่แคบ ไม่สามารถนอนในอุโมงค์ตรวจได้ (claustrophobic)
- ควรหลีกเลี่ยงในรายที่มีโลหะฝังอยู่ในร่างกาย เช่น
- ที่ผ่าตัดติดคลิปอุดหลอดเลือดในโรคเส้นเลือดโป่งพอง (Aneurism Clips)
- metal plates ในคนที่ดามกระดูก
- ผู้ป่วยที่เปลี่ยนข้อเทียม
- ผู้ป่วยที่ใส่ลิ้นหัวใจเทียม (Artificial Cardiac valve)
- ผู้ป่วยที่ผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจ
- ผู้ป่วยที่ผ่าตัดใส่อวัยวะเทียมภายในหู
- ผู้ป่วยที่ใส่ Stent ที่หลอดเลือดหัวใจต้องสอบถามจากแพทย์ที่ใส่ Stent ว่าเป็น Stent ชนิดใดจะทำ MRI ได้หรือไม่หรือต้องรอกี่สัปดาห์ค่อยทำ ปัจจุบัน Stent ที่หลอดเลือดหัวใจ ถ้าเป็นรุ่น MRI compatible สามารถทำได้ทันทีไม่มีผลเสียใดๆ

ควรหลีกเลี่ยงในคนที่เตรียมตัวเข้ารับการผ่าตัด สมอง ตา หรือ หู ซึ่งจะต้องฝังเครื่องมือทางการแพทย์ไว้ (medical devices)

ผู้ป่วยที่ใส่เหล็กดัดฟัน ถ้าต้องทำ MRI ตรวจในช่วงบริเวณ สมองถึงกระดูกคอควรต้องถอดเอาเหล็กดัดฟัน ออกก่อน เพราะจะมีผลต่อความชัดของภาพ

ผู้ที่เคยได้รับอุบัติเหตุที่ลูกตา และสงสัยว่าจะมีโลหะชิ้นเล็กๆกระเด็นเข้าไปในลูกตาหรือมีอาชีพเกี่ยวข้องกับโลหะ และมีความเสี่ยงต่อการมีโลหะชิ้นเล็กๆ กระเด็นเข้าลูกตา ซึ่งถ้าเข้าไปอยู่ในสนามแม่เหล็กอาจมีการ เคลื่อนที่ของโลหะชิ้นนั้นก่อให้เกิดอันตรายได้ (ภาพเอกซเรย์ธรรมดาของตาจะช่วยบอกได้ว่ามีหรือไม่มีโลหะอยู่ในลูกตา)

ผู้ที่รับการตรวจร่างกายด้วย MRI จะต้องนำโลหะต่างๆออกจากตัว เช่น กิ๊ฟหนีบผม ฟันปลอม ต่างหู เครื่องประดับ ATM บัตรเครดิต นาฬิกา thumbdrive Pocket PC ปากกา ไม่เช่นนั้น อาจทำให้สิ่งของได้รับความเสียหาย และอาจถูกฉุดกระชาก นอกจากนี้ยังทำให้ภาพที่อยู่บริเวณโลหะไม่ชัด

จากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่พบว่าการตรวจ MRI มีอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่ถ้าจำเป็นจริงๆไม่ควร ตรวจในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์

ไม่ควรใช้อายชาโดว์ และมาสคาร่า เพราะอาจมีส่วนผสมของโลหะ ทำให้เกิดเป็นสิ่งแปลกปลอมในภาพได้ห้องตรวจ MRI มีสนามแม่เหล็กแรงสูงตลอดเวลา มีผลต่อการทำงานของเครื่องมือที่ไวต่อแม่เหล็ก เช่นเครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจ โลหะทุกชนิดที่เหนี่ยวนำแม่เหล็ก เช่น เหล็กโลหะ การ์ดที่ใช้แถบแม่เหล็ก เช่น ATM, บัตรเครดิต, นาฬิกา, thumbdrive หรือพวกเครื่อง Pocket PC

Copyright 2024 AVANTI HEALTH AND TECHNOLOGY CO.,LTD.