logo
English

เรามอบความช่วยเหลือแก่สถานพยาบาลต่าง ๆ ในการขาย/ซื้ออุปกรณ์วินิจฉัยด้วยภาพทางรังสี รวมทั้งให้บริการหลังการขายและจัดจำหน่ายอะไหล่ เพื่อลดต้นทุน และ เพิ่มคุณภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยและรวดเร็วยิ่งขึ้น

เรามอบความช่วยเหลือแก่สถานพยาบาลต่าง ๆ ในการขาย/ซื้ออุปกรณ์วินิจฉัยด้วยภาพทางรังสี รวมทั้งให้บริการหลังการขายและจัดจำหน่ายอะไหล่ เพื่อลดต้นทุน และ เพิ่มคุณภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยและรวดเร็วยิ่งขึ้น

ห้องปฏิบัติการสำหรับการตรวจหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ (Cardiac Catheterization Lab)

15 ก.ค. 2022

ห้องปฏิบัติการสำหรับการตรวจหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ (Cardiac Catheterization Lab)

หรือเรียกสั้นๆ ว่า Cath Lab เป็นห้องพิเศษที่มีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการประมวลภาพหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดตามส่วนอื่นๆของร่างกายโดยภาพจะปรากฏขึ้นที่จอและบันทึกเป็นเทปโทรทัศน์ระบบดิจิตอลสามารถปรับหมุนได้รอบทิศทางตรวจดูซ้ำได้อย่างละเอียดทำให้แพทย์ได้ภาพจากทุกมุมตามต้องการได้อย่างรวดเร็วและชัดเจน ส่งผลให้แพทย์สามารถเห็นภาพได้ครบทุกมุมและสามารถวินิจโรคได้อย่างแม่นยำเพิ่มมากขึ้น

การบริการห้องสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization Laboratory)

1.การฉีดสีตรวจวินิจฉัยและการรักษาซ่อมแซมหลอดเลือดทุกตำแหน่งโดยใช้บอลลูน ขดลวด การขยายหลอดเลือด การดูดลิ่มเลือดที่อุดตันหลอดเลือด
หลอดเลือดที่สามารถซ่อมแซมได้ด้วยวิธีเหล่านี้ คือ

-  หลอดเลือดหัวใจ ในผู้ป่วยหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดหัวใจตีบ-ตัน

-  หลอดเลือดสมอง (Carotid Artery หรือ Vertebral Artery) ในผู้ป่วยที่เป็นอัมพฤกษ์-อัมพาต

-  หลอดเลือดไต ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง หรือไตเสื่อม จากหลอดเลือดไตตีบ

-  หลอดเลือดแขน ขาที่มีโรคหลอดเลือด เช่น ในผู้ป่วยที่ปวดขาเวลาเดิน หรือผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มี แผลเรื้อรัง

2.การตรวจและรักษาความผิดปกติของระบบไฟฟ้าหัวใจ ได้แก่

-  การสร้างแผนภูมิของสัญญาณไฟฟ้าในหัวใจระบบ 3 มิติ (Advance 3-D Mapping System)

-  การจี้แก้ไขบริเวณที่เต้นผิดปกติด้วยคลื่นวิทยุ (Rediofrequency Ablation)

-  การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ(Pacemaker)

-  การฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ(Implantable Cardioverter Defibrillator)

-  การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจสองห้องในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว(Cardiac Resynchronization Therapy)


เมื่อใดจึงควรมาตรวจ Cath lab

เมื่อเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน สาเหตุเกิดจากเลือดไปเลี้ยงที่หัวใจไม่เพียงพอ ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการแน่นหน้าอก หรือเจ็บบริเวณหน้าอกมากกว่า 5 นาที และเหนื่อยง่าย แต่การตรวจ Cath lab จะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของคนที่เป็นโรคหัวใจ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตอย่างฉับพลันจากโรคหัวใจนั่นเอง

วิธีตรวจ Cath lab

แพทย์จะเลือกฉีดยาชาบริเวณขาหนีบ หรือข้อมือ แล้วจะใส่ท่อขนาดเล็กปราศจากเชื้อโรคประมาณ 2 มิลลิเมตรผ่านทางหลอดเลือดแดงเข้าไปจ่ออยู่ที่ทางออกของเลือด จากนั้นจะฉีดสีเพื่อดูการทำงานของหลอดเลือดหัวใจว่ามีการตีบตันของหลอดเลือดหรือไม่ โดยแพทย์จะสามารถดูได้จากหน้าจอภาพแบบดิจิทัลผ่านกล่องเอกซเรย์พิเศษ โดยจะใช้เวลาประมาณ 20 นาที หากมีความผิดปกติแพทย์จะทำการสวนขดลวดเข้าไปเพื่อวินิจฉัย และทำการรักษาต่อไป เมื่อเรียบร้อยแล้ว สายสวนจะถูกดึงออกแล้วต้องใช้พลาสเตอร์ปิดแผลห้ามเลือดจุดที่ใส่สายสวนสักระยะหนึ่ง

โดยการตรวจและการรักษาวิธีนี้จะทำให้คนไข้ฟื้นตัวเร็ว เพราะไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ และมีความเสี่ยงน้อยกว่า สามารถกลับบ้านไปทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ

การเตรียมตัวก่อนการตรวจสวนหัวใจ

  • ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจร่างกายให้พร้อม เช่น การตรวจเลือดเอ็กซเรย์ปอดและตรวจคลื่นหัวใจ เป็นต้น
  • ผู้ป่วยต้องเตรียมตัวเข้านอนพักในโรงพยาบาลก่อนหนึ่งวัน และเซนต์ใบยินยอมเพื่อทำการรักษา
  • ผู้ป่วยควรอาบนํ้าทําความสะอาดร่างกายให้พร้อม โดยผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาแล้วจะได้รับการทำความสะอาดบริเวณขา ขาหนีบ โดยการโกนขน ซึ่งเป็นบริเวณที่แพทย์จะทำการสวนสายสวนเข้าไป
  • ผู้ป่วยต้องงดน้ำและอาหารก่อนเข้าตรวจประมาณ 6 ชั่วโมง
  • ก่อนทำการตรวจผู้ป่วยต้องถอดเสื้อผ้า รวมถึงเครื่องประดับฝากไว้กับญาติ หรือเจ้าหน้าที่

การปฏิบัติตัวหลังการตรวจสวนหัวใจ

  • หลังการฉีดสีหัวใจ แพทย์จะแนะนำให้คนไข้นอนนิ่ง ๆ โดยนอนราบแล้วปรับเตียงให้ศีรษะสูง 30-45 องศาได้ หลังจากนั้นจึงจะสามารถเดิน หรือนั่งได้เบา ๆ ห้ามยกของหนัก หรือออกกำลังกายหนักเกินไปเพื่อป้องกันการฉีกขาดของเส้นเลือดแต่ผู้ป่วยสามารถพลิกตะแคงตัว และขยับเคลื่อนไหวปลายเท้าปลายนิ้วได้
  • เจ้าหน้าที่จะใช้หมอนทรายกดทับไว้บริเวณแผลขาหนีบเพื่อห้ามเลือดอย่างน้อย 2-4 ชั่วโมง
  • ถ้าสังเกตพบว่า มีอาการเหนื่อยหอบหายใจ ใจสั่น เจ็บ หรือแน่นหน้าอก มึนงงวิงเวียนศีรษะ มีเลือดออกมากบริเวณแผลขาหนีบ หรือข้อมือ มีผื่นขึ้นตามตัวและเท้า มือเย็น ปวดชาปลายเท้า หรือมือ ควรรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที
  • ผู้ป่วยควรดูแลแผลไม่ให้แผลถูกนํ้า หากแผลแห้งดีผู้ป่วยสามารถอาบนํ้าได้ตามปกติ แต่ถ้าแผลไม่แห้งให้เช็ดด้วยแอลกอฮอล์แล้วใช้พาสเตอร์ปิดแผล
  • กรณีผู้ป่วยไม่ได้จํากัดนํ้าหลังตรวจเสร็จผู้ป่วยควรดื่มนํ้ามาก ๆ อย่างน้อยวันละ 2000 ซีซี ต่อวันเพื่อให้ไตขับสารทึบแสงออกทางการขับถ่ายปัสสาวะ
  • ควรงดเช่นการดื่มสุรา ชา กาแฟ โอเลี้ยง นํ้าอัดลม และงดการสูบบุหรี่
  • ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน มัน เค็มจัด เพราะจะเป็นการเพิ่มการทํางานของหัวใจให้ทำงานหนักมากขึ้น

ข้อดีการตรวจ Cath lab

เป็นการตรวจสวนหัวใจที่มีความแม่นยำ และมีประสิทธิภาพสูง ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ หรือผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจแล้วใช้ยารักษาไม่หาย หรือใช้วิธีอื่นรักษาแล้วไม่หายแพทย์จะพิจารณาให้ตรวจด้วยวิธีนี้เพื่อวางแผนในการรักษาที่แม่นยำขึ้นต่อไป

Copyright 2025 AVANTI HEALTH AND TECHNOLOGY CO.,LTD.