logo
English

เรามอบความช่วยเหลือแก่สถานพยาบาลต่าง ๆ ในการขาย/ซื้ออุปกรณ์วินิจฉัยด้วยภาพทางรังสี รวมทั้งให้บริการหลังการขายและจัดจำหน่ายอะไหล่ เพื่อลดต้นทุน และ เพิ่มคุณภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยและรวดเร็วยิ่งขึ้น

เรามอบความช่วยเหลือแก่สถานพยาบาลต่าง ๆ ในการขาย/ซื้ออุปกรณ์วินิจฉัยด้วยภาพทางรังสี รวมทั้งให้บริการหลังการขายและจัดจำหน่ายอะไหล่ เพื่อลดต้นทุน และ เพิ่มคุณภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยและรวดเร็วยิ่งขึ้น

Angiography คืออะไร มันคือการตรวจวินิจฉัยหลอดเลือด

14 ก.ค. 2022

Angiography คืออะไร มันคือการตรวจวินิจฉัยหลอดเลือด โดยการเอกซเรย์ดูเส้นเลือดแดงหรือดำที่ได้ฉีดสารทึบรังสีแล้วว่ามีความผิดปกติในบริเวณใหนบ้าง เพื่อให้แพทย์ได้ทำการตรวจวิเคราะห์หลอดเลือดในส่วนต่างๆของร่างกาย โดยฉีดสารที่ทำให้เอกซเรย์เห็นเส้นเลือดแดงดำได้ชัดเจนขึ้นเพื่อวินิจฉัยโรค

การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiography : CAG)

การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจทำโดยการสอดสายตรวจขนาดเล็กผ่านเข้าทางหลอดเลือดแดงที่ข้อมือหรือขาหนีบ จนกระทั่งปลายสายไปถึงหลอดเลือดหัวใจ ไม่ต้องใช้ยาสลบ ขณะทำจะใช้ยาชาเฉพาะที่เท่านั้น แล้วฉีดสารทึบรังสีจำนวนเล็กน้อยเข้าในหลอดเลือดหัวใจ พร้อมกับใช้เอ็กซเรย์บันทึกภาพของหลอดเลือดหัวใจแต่ละเส้นไว้

อาการบ่งชี้..ที่ควรฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ

  1. แน่นหน้าอกรุนแรง เหมือนมีของหนักกดทับ
  2. หายใจหอบเหนื่อย เหงื่อท่วม หมดแรง ใจสั่น หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม
  3. อาจมีอาการปวดร้าว หรือชา ไปที่แขน ไหล่ กราม
  4. มีประวัติหรือความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจขาดเลือด ภาวะอ้วน สูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย
  5. เคยตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจคัดกรองอื่นๆ เช่น กราฟไฟฟ้าหัวใจ คลื่นเสียงสะท้อน กราฟหัวใจขณะเดินสานพานผิดปกติ

การเตรียมตัวก่อนตรวจหลอดเลือดหัวใจ

  • งดน้ำและอาหาร อย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง
  • หากต้องทานยาประจำ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่า ต้องรับประทานยาต่อเนื่องหรือหยุดยาก่อนการตรวจ
  • หากมีประวัติแพ้ยา หรือแพ้อาหารทะเล ต้องแจ้งแพทย์ก่อน เพื่อพิจารณาให้ยาแก้แพ้
  • ควรได้รับการตรวจผลเลือด เช่น ค่าการทำงานของไต การทำงานของเม็ดเลือดแดง และเกลือแร่ในกระแสเลือด
  • ควรได้รับการตรวจเอ็กซเรย์ปอด และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • ปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเข้าห้องตรวจสวนหัวใจ

ขั้นตอนการตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ

มีด้วยกัน 2 วิธี คือใส่สายสวนเข้าไปบริเวณข้อมือ และเข้าทางขาหนีบ โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณา ความเหมาะสมให้กับผู้ป่วยแต่ละราย
1. บริเวณข้อมือและขาหนีบจะถูกทำความสะอาดด้วยน้ำยาทำให้ปราศจากเชื้อ หลังจากนั้นจะถูกคลุมไว้ด้วยผ้าปราศจากเชื้อ
2. แพทย์ฉีดยาชาเฉพาะที่ บริเวณที่จะสอดสายสวน หากมีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บแน่นหน้าอก คลื่นไส้อาเจียน ให้รีบแจ้งแพทย์
3. สายตรวจขนาดเล็กจะถูกสอดผ่านท่อนำบริเวณข้อมือ หรือขาหนีบ จนกระทั่งปลายสายตรวจเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจที่ต้องการตรวจ
4. แพทย์ฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ พร้อมทั้งบันทึกภาพ ด้วยเครื่องถ่ายภาพเอ็กซเรย์จากหลายๆ มุม (ขณะฉีดสารทึบรังสีผู้ป่วยอาจรู้สึกร้อนวูบวาบประมาณ 10-15 นาที)


ข้อปฏิบัติหลังการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ


กรณีสอดสายสวนหัวใจเข้าไปทางข้อมือ
1. บริเวณข้อมือจะถูกกดห้ามเลือดด้วยสายรัดข้อมือประมาณ 2-4 ชั่วโมง เมื่อเลือดหยุดพยาบาลจะนำสายรัดข้อมือออกให้ ผู้ป่วยห้ามถอดสายรัดข้อมือออกเองโดยที่แพทย์ไม่อนุญาต
2. หลังการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจผู้ป่วยสามารถลุกนั่งหรือยืนได้ และสามารถรับประทานอาหารและน้ำได้

กรณีสอดสายสวนหัวใจเข้าไปทางขาหนีบ
1. บริเวณขาหนีบจะถูกกดแผลห้ามเลือดประมาณ 15-30 นาที เมื่อเลือดหยุดจะปิดแผลด้วยพลาสเตอร์เหนียว เพื่อให้แผลไม่มีเลือดออกเพิ่ม ช่วงแรกแผลที่ขาหนีบจะถูกกดและห้ามเลือดด้วยหมอนทราย (หนักประมาณ ½ - 1 กก.)
2. ห้ามงอขาหรือลุกนั่งหรือยืนโดยที่แพทย์ไม่อนุญาต
3. หลังการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารและน้ำได้

Copyright 2024 AVANTI HEALTH AND TECHNOLOGY CO.,LTD.